บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 8
วันจันทร์
ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
การทำผลงานของเด็กแต่ละครั้งจะแสดงให้เห็นว่าเด็กนั้นมีความคิดของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน
การที่จะให้เด็กไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก
เช่น
·
จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
·
สื่อในการเรียนการสอนน่าสนใจและหลากหลาย
·
กลวิธีในการสนทนา
·
กระตุ้นด้วยการใช้คำถาม
(ควรใช้คำถามปลายเปิด)
·
ผลงานของเด็กควรจะได้นำเสนอทุกคน
·
เมื่อเด็กทำดี
เราควรเสริมแรง อาจเป็นคำชมเชย ให้กำลังใจและยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน
กิจกรรม ทำสื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ภายในกลุ่มเลือกรูปทรงเรขาคณิตคนละ
1
รูปทรงไม่ซ้ำกัน
จากนั้นออกแบบรูปทรงของตนเองให้เป็นรูปอะไรก็ได้แต่ต้องคงรูปทรงเรขาคณิตเอาไว้ด้วย
วงกลม ออกแบบเป็นรูป
หมู
สามเหลี่ยม
ออกแบบเป็นรูป หนู
สี่เหลี่ยมคางหมู
ออกแบบเป็นรูป เรือ
สี่เหลี่ยม
ออกแบบเป็นรูป โทรทัศน์
สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
ออกแบบเป็นรูป ไอศกรีม
ทรงกระบอก
ออกแบบเป็นรูป แก้ว
ห้าเหลี่ยม
ออกแบบเป็นรูป ดอกไม้
วงรี ออกแบบเป็นรูป
หน้าคน
หกเหลี่ยม
ออกแบบเป็นรูป นาฬิกา
สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ออกแบบเป็นรูป ปู
หลักการออกแบบ
· ออกแบบจากประสบการณ์เดิม/สิ่งที่เคยเห็น
· ออกแบบจากประสบการณ์เดิมและความคิดริเริ่ม
· ออกแบบจากประสบการณ์เดิมและเชื่อมโยงสื่อถึงอารมณ์
นำรูปภาพที่เราออกแบบนั้นมาระบายสีให้สวยงาม
พร้อมตัด
จากนั้นพวกเราระดมความคิดกันว่าเราจะทำสื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่สามารถบูรณาการเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตด้วย
กลุ่มเรารวบรวมเป็นเล่ม ติดภาพ เขียนคำศัพท์เรียบร้อยสวยงาม และทำบัตรรูปทรงเรขาคณิตไว้เป็นชิ้นๆ
พอดีๆ เพื่อนำมาจับคู่กับภาพคำศัพท์ให้ถูกต้อง
สื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
การประยุกต์ใช้
รู้จักออกแบบภาพต่างๆจากรูปทรงเรขาคณิต
ฝึกการทำสื่อที่บูรณาการได้หลากหลาย และยังเข้าใจถึงหน้าที่ของครูที่ต้องกระทำต่อเด็กด้วยค่ะ
เช่นครูต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็ก
ครูต้องยอมรับในความแตกต่างของเด็กๆทุกคนด้วย
ประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้เรียนสนุก
ตั้งใจเรียนมากค่ะ เพราะชอบที่ได้วาดรูปได้คิดอะไรใหม่ๆ
ช่วยเพื่อนระดมความคิดในการทำงานเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ช่วยกันทำงานกลุ่ม เพื่อนๆทำงานออกมาได้สวยงามหลากหลายแบบ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
วันนี้อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้ทำกิจกรรมเยอะมาก
อาจารย์มีความพร้อมในการสอนมากๆ อธิบายรายละเอียดให้นักศึกษาเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น