วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
กิจกรรมสนุกๆในวันนี้ก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียน 
รำวงกันค่ะ อิอิ

จับกลุ่มตามคำสั่ง วิ่งกันสนุกสนานเลยค่ะ
         เราสามารถใช้เพลงในการแบ่งกลุ่มได้เพื่อให้เกิดการมีไหวพริบและความสนุกสนานมากขึ้นหรือให้เด็กได้ทำเสียงต่างๆโดยใช้ร่างกายและทำให้เสียงนั้นกายเป็นจังหวะเพลงทำให้เด็กเกิดความคิดว่าจะใช้ร่างกายส่วนใด ที่แตกต่างกันออกไปและไม่ซ้ำกัน
การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน
กิจกรรมแต่งนิทานพร้อมกับแสดงบทบาทสมมติ
การแสดงนิทานมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ตัวอย่างนิทานเรื่อง ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
1. ก้อนเมฆ
2. ดวงอาทิตย์
3. ลม
เนื้อเรื่อง
        ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า พระอาทิตย์ตื่นได้แล้วจากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไปลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้าจากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!) สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก

พระอาทิตย์ ตื่นได้แล้ว

พระอาทิตย์ ตื่นแล้ว ^^

เจ้าลมบ้าพลังจับพระอาทิตย์ไปแล้ว !!

ก้อนเมฆไปช่วยพระอาทิตย์กันเถอะ

ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ สอนเรื่องความสามัคคี การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามที่เดือดร้อน

ตัวอย่างนิทานจากกลุ่มเพื่อน
นิทานเรื่องการเดินทางของจักรยาน


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ การอยู่ร่วมกันในสังคม เรื่องมารยาทในการใช้รถใช้ถนนและความอดทน

นิทานเรื่องเจ้าเท้าเพื่อนรัก


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ ความสามัคคี ความรัก การช่วยเหลือกัน

นิทานเรื่องชาวประมงกับปลา


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ ความสามัคคี

นิทานเรื่องรองเท้าที่หายไป


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ การมีระเบียบวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเก็บของ
ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน โดยอาจารย์กำหนดข้อตกลงว่าให้แต่ละกลุ่มเลือกเพลงประจำกลุ่มมา 1 เพลง และใช้ร่างกายเป็นเครื่องให้จังหวะ กลุ่มของเราเลือกเพลง Hello เป็นเพลงประจำกลุ่มของเราค่ะ อวัยวะที่เราใช้เป็นเครื่องให้จังหวะ เช่น เท้า แขน ขา มือ ปาก


การประยุกต์ใช้
        จากกิจกรรมในวันนี้ได้ใช้นิทานเป็นส่วนในการบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเราสามารถให้เด็กได้ออกมาแสดงท่าทางต่างๆตามเนื้อเรื่องทำให้เด็กได้คิดและจินตนาการท่าทางบทบาทสมมุติตัวเองเป็นตัวละครนั้นนั้นได้ใช้ความคิดที่หลากหลายและได้คิดอย่างอิสระ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณครูต้องให้ความสำคัญเป็นอ่างยิ่ง
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
         วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะ สนุกสนานกับการเล่านิทานและแสดงบทบาทสมมติ ชอบนิทานที่เพื่อนๆแต่งขึ้นมา แปลกใหม่ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน สนุกสนานกับการทำกิจกรรม ช่วยกันระดมความคิดในการแต่งนิทาน และแสดงบทบาทสมมติกันได้ดีเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        อาจารย์มีกิจกรรมเล็กๆหน่อยๆให้ทำก่อนที่จะเริ่มเรียน สนุกสนาน เพลิดเพลินมากค่ะ อาจารย์ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษาในการแต่งนิทาน เพราะอยากให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนออกมาผ่านการแต่งนิทานค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น