Hello I welcome you all.

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
        ในวันนี้เป็นวันที่มีการเรียนการสอนเป็นวันสุดท้ายของภาคเรียนที่ 1 อาจารย์ได้พูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ทั้งการเรียน งานที่มอบหมายและเรื่องต่างๆ พร้อมกับแจ้งรายละเอียดในการสอบปลายภาคให้นักศึกษาทุกคนรับทราบพร้อมกัน และแจกปากกาเมจิกให้กับนักศึกษาคนละ 1 ชุด มีการแจกรางวัลเด็กดีสำหรับนักศึกษาที่มาเรียนตรงเวลาและเป็นเด็กดี








  




ปากกาเมจิก น่าใช้มากๆค่ะ




การประยุกต์ใช้
         ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้หนูเข้าใจถึงความหมายและความสำคัญของการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ ว่าควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อที่จะมีที่ว่างให้เด็กได้คิดและได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้หลากหลายเมื่อเด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง คุณครูคือผู้ที่คอยชี้แนะผ่านวิชาต่างๆ ได้มากมาย เข้าใจถึงการจัดกิจกรรมเพราะได้ปฏิบัติจริงในตอนที่เรียน พอถึงเวลาสอนจริงเราก็จะเข้าใจและนำความรู้เดิมมาใช้ประโยชน์ได้

ประเมิน          
ประเมินตนเอง
         จากวันแรกที่เปิดภาคเรียนจนถึงวันนี้ในการเรียนวิชาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย หนูรู้สึกมีความสุขที่ได้เรียนกับอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมากค่ะ นอกจากอาจารย์จะสอนสนุกแล้วก็ยังให้ความรักและความอบอุ่นกับนักศึกษาด้วย ทำให้นักศึกษาทุกคนมีความสุขในการเรียน และมีความรู้เยอะแยะมากมายทั้งเนื้อหาวิชาที่เรียนและคุณธรรมในการใช้ชีวิต สอนให้หนูคิดในแง่ดี ตั้งใจเรียน และเป็นครูที่ดีในอนาคต อาจารย์สอนให้พวกเรามีประสบการณ์ในการสอน คอยฝึกให้ปฏิบัติเยอะๆจำได้เข้าใจ และทำมันได้อย่างคล่องแคล่ว ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับความรู้และการอบรมสั่งสอนนะคะ เจอกันวิชาต่อไปจะตั้งใจเรียนให้มากขึ้นค่ะ
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ทุกคนทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ สนุกสนาน ผลงานทุกอย่างในวิชานี้ก็ล้วนออกมาจากความคิดของทุกคนที่รังสรรค์ออกมาได้อย่างสวยงาม เพื่อนตั้งใจเรียนคอยจดบันทึกเนื้อหาสำคัญ และโต้ตอบถามข้อสงสัยกับอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ     
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
        อาจารย์ทั้ง 2 ท่านตั้งใจสอน เตรียมตัวพร้อมในการสอนทุกครั้ง ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะน่าฟัง มีการเตรียมสื่อการสอนมาเป็นอย่างดี เวลาสอนเนื้อหาก็จะสอนอย่างละเอียด ทำให้เข้าใจง่าย มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาถามเมื่อไม่เข้าใจและพร้อมที่จะอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สะอาดและเหมาะสมค่ะ



บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
กิจกรรมสนุกๆในวันนี้ก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียน 
รำวงกันค่ะ อิอิ

จับกลุ่มตามคำสั่ง วิ่งกันสนุกสนานเลยค่ะ
         เราสามารถใช้เพลงในการแบ่งกลุ่มได้เพื่อให้เกิดการมีไหวพริบและความสนุกสนานมากขึ้นหรือให้เด็กได้ทำเสียงต่างๆโดยใช้ร่างกายและทำให้เสียงนั้นกายเป็นจังหวะเพลงทำให้เด็กเกิดความคิดว่าจะใช้ร่างกายส่วนใด ที่แตกต่างกันออกไปและไม่ซ้ำกัน
การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน
กิจกรรมแต่งนิทานพร้อมกับแสดงบทบาทสมมติ
การแสดงนิทานมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ตัวอย่างนิทานเรื่อง ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
1. ก้อนเมฆ
2. ดวงอาทิตย์
3. ลม
เนื้อเรื่อง
        ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า พระอาทิตย์ตื่นได้แล้วจากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไปลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้าจากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!) สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก

พระอาทิตย์ ตื่นได้แล้ว

พระอาทิตย์ ตื่นแล้ว ^^

เจ้าลมบ้าพลังจับพระอาทิตย์ไปแล้ว !!

ก้อนเมฆไปช่วยพระอาทิตย์กันเถอะ

ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ สอนเรื่องความสามัคคี การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามที่เดือดร้อน

ตัวอย่างนิทานจากกลุ่มเพื่อน
นิทานเรื่องการเดินทางของจักรยาน


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ การอยู่ร่วมกันในสังคม เรื่องมารยาทในการใช้รถใช้ถนนและความอดทน

นิทานเรื่องเจ้าเท้าเพื่อนรัก


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ ความสามัคคี ความรัก การช่วยเหลือกัน

นิทานเรื่องชาวประมงกับปลา


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ ความสามัคคี

นิทานเรื่องรองเท้าที่หายไป


ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ คือ การมีระเบียบวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเก็บของ
ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน โดยอาจารย์กำหนดข้อตกลงว่าให้แต่ละกลุ่มเลือกเพลงประจำกลุ่มมา 1 เพลง และใช้ร่างกายเป็นเครื่องให้จังหวะ กลุ่มของเราเลือกเพลง Hello เป็นเพลงประจำกลุ่มของเราค่ะ อวัยวะที่เราใช้เป็นเครื่องให้จังหวะ เช่น เท้า แขน ขา มือ ปาก


การประยุกต์ใช้
        จากกิจกรรมในวันนี้ได้ใช้นิทานเป็นส่วนในการบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเราสามารถให้เด็กได้ออกมาแสดงท่าทางต่างๆตามเนื้อเรื่องทำให้เด็กได้คิดและจินตนาการท่าทางบทบาทสมมุติตัวเองเป็นตัวละครนั้นนั้นได้ใช้ความคิดที่หลากหลายและได้คิดอย่างอิสระ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณครูต้องให้ความสำคัญเป็นอ่างยิ่ง
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
         วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะ สนุกสนานกับการเล่านิทานและแสดงบทบาทสมมติ ชอบนิทานที่เพื่อนๆแต่งขึ้นมา แปลกใหม่ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน สนุกสนานกับการทำกิจกรรม ช่วยกันระดมความคิดในการแต่งนิทาน และแสดงบทบาทสมมติกันได้ดีเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        อาจารย์มีกิจกรรมเล็กๆหน่อยๆให้ทำก่อนที่จะเริ่มเรียน สนุกสนาน เพลิดเพลินมากค่ะ อาจารย์ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษาในการแต่งนิทาน เพราะอยากให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนออกมาผ่านการแต่งนิทานค่ะ


วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน

ความคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
องค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ร่างกาย
2. พื้นที่
3. ระดับ
4. ทิศทาง
รูปแบบแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด
2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การตบมือ การผงกศีรษะ
วัตถุประสงค์การเคลื่อนไหว
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6. เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง เด็กได้คิดและแสดงออกโดยทำท่าทางในการเต้นตามจังหวะเพลง
2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย เด็กได้มีวิธีการที่แตกต่างกันในการแสดงออกตามเรื่องราว
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง เด็กได้ใช้ความคิดจากการเปลี่ยนทิศทาง หรือท่าทางต่างๆ ที่มีวิธีการแตกต่างกัน
4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม เด็กได้ออกมาเป็นผู้นำจะทำให้เด็กได้คิดท่าทางที่สร้างสรรค์และแตกต่างกันออกไป
5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง เด็กได้คิดและแสดงท่าทางที่แตกต่างกัน
6. เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ สอดคล้องและแทรกอยู่ในทุกๆ กิจกรรมเคลื่อนไหว
กิจกรรมในวันนี้
กิจกรรม    การเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
เคลื่อนไหวพื้นฐาน
        คุณครูกำหนดสัญญาณ
                      ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
                      ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
                      ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
                      ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
        - ถ้าคุณครูพูดว่า ท้องฟ้าให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
        - ถ้าคุณครูพูดว่า ป่าไม้ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
        - ถ้าคุณครูพูดว่า ทะเลให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
        - ถ้าคุณครูพูดว่า รูให้เด็กๆทำท่างูเลื่อยไปที่มุมรู
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
        การนวดตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน ขาและเท้า

ภาพบรรยากาศกลุ่มเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ (กลุ่มตนเอง)



ภาพบรรยากาศกลุ่มเคลื่อนไหวประกอบเพลง






ภาพบรรยากาศเคลื่อนไหวตามคำสั่ง







ภาพบรรยากาศเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม




ภาพบรรยากาศเคลื่อนไหวตามข้อตกลง






การประยุกต์ใช้
        กิจกรรมในวันนี้ทำให้นักศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะรวมไปถึงการบูรณาการให้เข้ากับกิจกรรมมากขึ้นค่ะ เราสามารถบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้หลากหลายวิชา โดยที่ครูจะเป็นผู้ที่คอยส่งเสริมเด็กๆในการทำกิจกรรม และกิจกรรมจะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
         วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายค่ะ เสนอความคิดเห็นและช่วยเพื่อนคิดกิจกรรมที่จะทดลองสอนในวันนี้ จดเนื้อหาที่อาจารย์สอน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนและที่เพื่อนๆออกไปทดลองสอน
ประเมินเพื่อน
        วันนี้เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนดีค่ะ มีการโต้ตอบในข้อคำถามที่สนใจ รับฟังคำแนะนำจากอาจารย์และเพื่อนๆภายในกลุ่ม ช่วยกันทำงานดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
        อาจารย์ใส่ใจในการสอน มีความตรงต่อเวลา สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย พูดชัดเจน อาจารย์จะคอยแนะนำในทุกๆขั้นตอนเพราะหวังอยากให้นักศึกษาทุกคนเข้าใจในสิ่งที่สอน