บันทึกการเรียน
ครั้งที่
2
วันจันทร์
ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน
1. ดูวิดีโอสะท้อนสังคมไทยในการใช้รถโดยสาร
(รถเมล์)
2. ทบทวนเพลงภาษอังกฤษ
กิจกรรม Marshmallow
Tower
กิจกรรม Marshmallow
Tower เป็นกิจกรรมกลุ่ม สร้างหอคอยให้ได้สูงที่สุด
อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟันและดินน้ำมัน
เงื่อนไข ครั้งที่ 1 ห้ามพูดและปรึกษากัน
เงื่อนไข ครั้งที่ 2 ตั้งหัวหน้ากลุ่ม และหัวหน้ากลุ่มมีสิทธิพูดเพียงคนเดียว
เงื่อนไข ครั้งที่ 3 สมาชิกในกลุ่มสามารถปรึกษากันได้
#กิจกรรมนี้สามารถจัดในมุมเสริมประสบการณ์
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี
3 ขั้น ดังนี้
1.
ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
2.
ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์
(Symbolic Play)
อุปกรณ์ ตะเกียบ
ยางวง กระดาษ
เป็นกิจกรรมที่ให้เราช่วยกันนำอุปกรณ์ที่อาจารย์ให้มาสร้างเรือและหาเทคนิควิธีที่ทำให้มันลอยน้ำได้และบรรทุกของ
(ซอส) ได้มากที่สุด ซึ่งเพื่อนๆเซคเราสามารถบรรทุกซอสไปได้ถึง 50 ซอง
กิจกรรม ดีไซเนอร์ระดับโลก
เป็นกิจกรรมที่ให้เราใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดีไซน์ชุดออกมา
ให้มีความอลังการมากที่สุด โดยใช้หนังสือพิมพ์ในการประดิษฐ์ชุดออกมา
กิจกรรมดีสนุกมาก พวกเราได้ช่วยกันทำ
ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพวกเราในการทำกิจกรรมนี้มาก
กลุ่มของเราเองค่ะ |
ทีมงานคุณภาพ อิอิ |
รวมแก๊งค์โอ่ง |
นางแบบเซค2 |
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.
การเล่นกลางแจ้ง
2.
การเล่นในร่ม
- การเล่นตามมุมประสบการณ์
- · การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง
•
การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ
และเล่นได้หลายวิธี
•
ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
•
เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
(Formann
and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
·
เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
·
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
·
การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
·
การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
·
การเรียนรู้เหตุและผล
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
การเรียนรู้เหตุและผล
2.
พัฒนาการของการรู้คิด ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
•
กระบวนการเรียนรู้
•
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
•
เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
•
การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
•
การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
•
ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
•
ศึกษาสภาพแวดล้อม
จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
•
มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
•
มีการสรุปท้ายกิจกรรม
การประยุกต์ใช้
ได้ฝึกการแก้ปัญหา มีกระบวนการทำงานที่ดี
สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีกับเด็กได้ และสามารถสอนเด็กทำกิจกรรมที่เราได้ทำไปวันนี้ด้วย
ประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียน
ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา สนุกและมีความสุขมากค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมค่ะ
เพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ทำผลงานออกมาได้สวย สนุกสนาน เฮฮา
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมเยอะ แต่อาจารย์สอนอย่างเต็มที่
และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีค่ะ พวกหนูชอบกิจกรรมที่อาจารยืเตรียมมามากค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น