บันทึกการเรียน
ครั้งที่
1
วันจันทร์
ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน
1. การเรียนการสอนครั้งแรก
อาจารย์แจกใบปั้มการเข้าเรียน
2. ทำกิจกรรมร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นเพลงภาษาอังกฤษ
การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
อุษณีย์
โพธิสุข กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ
อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
1.
คุณค่าต่อสังคม
2.
คุณค่าต่อตนเอง
3.
ทำให้เกิดความสนุกสนาน
เพลิดเพลิน
4.
ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
5.
มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
6.
นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
7.
ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
8.
ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
9.
สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี
10.
พัฒนากล้ามเนื้อ
11.
เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า
ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น
4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
•
ด้านถ้อยคำ (Word
Fluency)
•
ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
(Association
Fluency)
•
ด้านการแสดงออก (Expressional
Fluency)
•
ด้านการคิด (Ideation
Fluency)
2.
ความคิดริเริ่ม (Originality)
•
ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา
หรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
•
ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที
(Spontaneous
Flexibility)
•
ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง
(Adapture
Flexibility)
4.
ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
•
ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
•
เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
1.
ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
2.
อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
3.
ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
4.
ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
5.
ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
#ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีของ
Torrance
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา
แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
1.
ขั้นที่ 1
การพบความจริง
2.
ขั้นที่ 2
การค้นพบปัญหา
3.
ขั้นที่ 3
การตั้งสมมติฐาน
4.
ขั้นที่ 4
การค้นพบคำตอบ
บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.
เด็กรู้สึกปลอดภัย
2.
ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
3.
ได้สำรวจ ค้นคว้า
และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
4.
ขจัดอุปสรรค
5.
ไม่มีการแข่งขัน
6.
ให้ความสนใจเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.
มีไหวพริบ
2.
กล้าแสดงออก
3.
อยากรู้อยากเห็น
4.
ช่างสังเกต
5.
มีอารมณ์ขัน
6.
มีสมาธิ
7.
รักอิสระ
8.
มั่นใจในตนเอง
9.
อารมณ์อ่อนไหวง่าย
10.
ไม่ชอบการบังคับ
11.
ชอบเหม่อลอย
12.
ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ
13.
มีความวิจิตรพิสดาร
14.
ชอบสร้างแล้วรื้อ
รื้อแล้วสร้างใหม่
15.
ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
1. คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว = คิดให้ได้มากที่สุด
2. คำถามที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม = คิดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
3. คำถามที่ส่งเสริมความคิดยืดหยุ่น = ได้คำตอบที่หลากหลาย
4. คำถามที่ส่งเสริมความคิดละเอียดลออ = คิดให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ
แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ
Torrance
1. ส่งเสริมให้เด็กถาม
2. เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
3. ยอมรับคำถามของเด็ก
4. ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
5. แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
6. เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
7. ค่อยเป็นค่อยไป
8. ยกย่องชมเชย
9. ไม่มีการวัดผล
การตั้งคำถาม 5W1H
1. Who
ใคร
2. What
อะไร
3. Where
ที่ไหน
4. When
เมื่อไหร่
5. Why
ทำไม
การประยุกต์ใช้
กิจกรรมตาสงๆที่ทำในวันนี้ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่เราใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมนั้นๆออกมา
ความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เด็กมีความคิดและจินตนาการที่แตกต่างกันไป
เมื่อเราไปเป็นครูเราต้องเข้าใจ
ประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียน
ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา พยายามจดบันทึกความรู้ที่ได้
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมค่ะ
เพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ทำผลงานออกมาได้สวย
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
วันนี้อาจารย์ต้องเหนื่อย เพราะกิจกรรมเยอะ
แต่อาจารย์ก็สอนอย่างเต็มที่ และเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น