วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
        ในการจัดกิจกรรม เราต้องรู้ว่ากิจกรรมที่ทำนั้นสามารถบูรณาการในด้านใดบ้าง เช่น สามารถบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ เป็นต้น และการจัดกิจกรรมต้องมีเป้าหมาย จัดกิจกรรมนี้เพื่ออะไร เป้าหมายต้องส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4ด้าน

ขอบข่ายสติปัญญา มี 2 หัวข้อหลักคือ
1. การคิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.การคิดสร้างสรรค์ 2.การคิดเชิงเหตุผล
2. ภาษา
ขอบข่ายร่างกาย มี 3 หัวข้อหลักคือ
1.     การเจริญเติบโต น้ำหนัก/ส่วนสูง กล้ามเนื้อต่างๆ
2.     สุขภาพอนามัย
3.     ประสาทสัมพันธ์กล้ามเนื้อกับอวัยวะ (การเคลื่อนไหว เช่น มือกับตา ตากับขา)
ขอบข่ายอารมณ์-จิตใจ
1.      การแสดงออกทางความรู้สึก
ขอบข่ายสังคม มี 2 หัวข้อหลักคือ
1.     การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
2.     สามารถช่วยเหลือตนเองได้

#กิจกรรมต้องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน / ต้องบูรณาการได้หลากหลายถ้ากิจกรรมดีจริงต้องตอบสนองต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
#เชื่อมโยงพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ---- เพื่อให้สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ---- ส่งเสริมพัฒนาการและการทำงานของสมองเด็ก
#ในการจัดกิจกรรมต้องให้เด็กได้ลงมือทำ เพราะ การเล่นคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
#เราต้องการให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เราก็ต้องออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยเอามาจัดเป็นกระบวนการ
กิจกรรมวันนี้ ทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ (กลุ่ม10คน)
กลุ่มของเราเลือกวัสดุเหลือใช้ คือ ขวดทุกชนิด (สิ่งประดิษฐ์ภายในกลุ่มไม่ซ้ำกัน)

สิ่งประดิษฐ์ของดิฉันคือ กบเหลาดินสอจากขวดน้ำ

การประยุกต์ใช้
        สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ของตนเองและของเพื่อนมาใช้สอนเด็กทำได้และยังสามารถนำไปให้ความรู้ผู้ปกครองได้จริง การสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ทำให้ประหยัดและไม่เป็นการสิ้นเปลือง

ประเมิน          
ประเมินตนเอง
        วันนี้อากาศในห้องเย็นมากค่ะ แต่ก็เป็นอุปสรรคค่ะ ตั้งใจเรียน ตั้งใจคิด ค้นหาสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน ค้นหาสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้กันอย่างสนุกสนาน เพื่อที่จำนำมาเสนออาจารย์
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสมากค่ะ เรียนแล้วมีความสุข สนุกสนาน อาจารย์อยากให้นักศึกษา เกิดความคิดสร้างสรรค์เลยมีกิจกรรมที่หลากหลายมาให้นักศึกษาทำ



บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559
***หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช***



บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
การทำผลงานของเด็กแต่ละครั้งจะแสดงให้เห็นว่าเด็กนั้นมีความคิดของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน การที่จะให้เด็กไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก เช่น
·       จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
·       สื่อในการเรียนการสอนน่าสนใจและหลากหลาย
·       กลวิธีในการสนทนา
·       กระตุ้นด้วยการใช้คำถาม (ควรใช้คำถามปลายเปิด)
·       ผลงานของเด็กควรจะได้นำเสนอทุกคน
·       เมื่อเด็กทำดี เราควรเสริมแรง อาจเป็นคำชมเชย ให้กำลังใจและยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน
กิจกรรม ทำสื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ภายในกลุ่มเลือกรูปทรงเรขาคณิตคนละ 1 รูปทรงไม่ซ้ำกัน จากนั้นออกแบบรูปทรงของตนเองให้เป็นรูปอะไรก็ได้แต่ต้องคงรูปทรงเรขาคณิตเอาไว้ด้วย
วงกลม ออกแบบเป็นรูป หมู

สามเหลี่ยม ออกแบบเป็นรูป หนู

สี่เหลี่ยมคางหมู ออกแบบเป็นรูป เรือ

สี่เหลี่ยม ออกแบบเป็นรูป โทรทัศน์

สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ออกแบบเป็นรูป ไอศกรีม

ทรงกระบอก ออกแบบเป็นรูป แก้ว

ห้าเหลี่ยม ออกแบบเป็นรูป ดอกไม้

วงรี ออกแบบเป็นรูป หน้าคน

หกเหลี่ยม ออกแบบเป็นรูป นาฬิกา
สี่เหลี่ยมผืนผ้า ออกแบบเป็นรูป ปู
หลักการออกแบบ
·      ออกแบบจากประสบการณ์เดิม/สิ่งที่เคยเห็น
·      ออกแบบจากประสบการณ์เดิมและความคิดริเริ่ม
·      ออกแบบจากประสบการณ์เดิมและเชื่อมโยงสื่อถึงอารมณ์

นำรูปภาพที่เราออกแบบนั้นมาระบายสีให้สวยงาม พร้อมตัด
จากนั้นพวกเราระดมความคิดกันว่าเราจะทำสื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่สามารถบูรณาการเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตด้วย กลุ่มเรารวบรวมเป็นเล่ม ติดภาพ เขียนคำศัพท์เรียบร้อยสวยงาม และทำบัตรรูปทรงเรขาคณิตไว้เป็นชิ้นๆ พอดีๆ เพื่อนำมาจับคู่กับภาพคำศัพท์ให้ถูกต้อง









สื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษ











การประยุกต์ใช้
        รู้จักออกแบบภาพต่างๆจากรูปทรงเรขาคณิต ฝึกการทำสื่อที่บูรณาการได้หลากหลาย และยังเข้าใจถึงหน้าที่ของครูที่ต้องกระทำต่อเด็กด้วยค่ะ เช่นครูต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ครูต้องยอมรับในความแตกต่างของเด็กๆทุกคนด้วย    
 
ประเมิน
ประเมินตนเอง
        วันนี้เรียนสนุก ตั้งใจเรียนมากค่ะ เพราะชอบที่ได้วาดรูปได้คิดอะไรใหม่ๆ ช่วยเพื่อนระดมความคิดในการทำงานเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
        วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันทำงานกลุ่ม เพื่อนๆทำงานออกมาได้สวยงามหลากหลายแบบ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        วันนี้อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้ทำกิจกรรมเยอะมาก อาจารย์มีความพร้อมในการสอนมากๆ อธิบายรายละเอียดให้นักศึกษาเข้าใจ


บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน


องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย
1.ความคิดริเริ่ม
        หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกและแตกต่างไปจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
2.ความคิดคล่องแคล่ว
        หมายถึง การคิดและทำสิ่งนั้นอยู่บ่อยๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการคิดคล่องแคล่ว คือ
- รูปแบบหลากหลาย
- วัสดุอุปกรณ์หลากหลาย
- วิธีการหลากหลาย
3.ความคิดยืดหยุ่น
        หมายถึง ความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างเป็นอิสระ หรือความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
4.ความคิดละเอียดลออ
        หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ ความคิดละเอียดลออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
5.ความคิดสร้างสรรค์
        หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะคิดได้หลายทิศทาง หรือคิดได้หลายคำตอบ และความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดใหม่ที่ผสมผสานกับประสบการณ์ก็ได้
กิจกรรมในวันนี้ คือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
เกร็ดความรู้
กิจกรรม 
       คือ สิ่งที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำ การจัดกิจกรรมนั้นจะต้องให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย
สาระที่ควรเรียนรู้
1.  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 
2.   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล สถานที่และสิ่งแวดล้อมเด็ก
3.   ธรรมชาติรอบตัว
4.   สิ่งต่างๆรอบตัว
ประสบการณ์สำคัญ
1.   ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
2.   ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
3.   ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
4.   ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
กิจกรรมหลักมี 6 กิจกรรม ดังนี้
1.   กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.   กิจกรรมสร้างสรรค์
3.   กิจกรรมเสรี
4.   กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5.   กิจกรรมกลางแจ้ง
6.   กิจกรรมเกมการศึกษา
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.กำหนดเรื่อง โดยการเลือกเรื่องนั้นจะต้องมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน และมีผลกระทบกับเด็ก
2.นำหัวข้อเรื่องมาแยกองค์ความรู้ ควรจะมีหัวข้อดังนี้
1.   ชื่อรียก
2.   ลักษณะ
3.   การดำรงชีวิต
4.   ประโยชน์
5.   ข้อควรระวัง
3.เด็กลงมือปฏิบัติให้ได้รับประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หน่วยแมลง
(ในกิจกรรมนี้แบ่งออกเป็น 4 ฐาน)

1.เป่าสีฟองสบู่
บูรณาการวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงดันอากาศ โดยใช้ทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดริเริ่ม




2.ประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ
บูรณาการวิทยาศาสตร์เรื่องวัฏจักรของผีเสื้อ


3.สร้างแมลงจากแกนกระดาษทิชชู (ชักลอก)
บูรณาการคณิิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดยืดหยุ่น


4.ผีเสื้อจากมือ
บูรณาการวิทยาศาสตร์เรื่อง ผีเสื้อ


#กิจกรรมที่จัดนั้นต้องทำให้เด็กได้เกิดความคิดที่แตกต่าง ให้เด็กได้เปรียบเทียบด้วยการสังเกต แล้วจึงเลือกตัดสินใจทำให้เกิดความรู้ใหม่
พฤติกรรมของครูที่พึงประสงค์
1.   รับฟังความคิดของเด็ก ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก
2.   ไม่พูดให้เด็กเสียกำลังใจ
3.   ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
4.   ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
การประยุกต์ใช้
        เข้าใจหลักการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ได้การประดิษฐ์สิ่งต่างๆจากวัสดุเหลือใช้ เราสามารถนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวิชาที่เราเรียนหรือนำใช้ในกิจกรรมหน่วยต่างๆได้   
  
ประเมิน        
ประเมินตนเอง
        วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม ของที่ประดิษฐ์วันนี้อาจจะไม่สวยงามมากแต่ก็ทำให้เรารู้หลักการทำได้เป็นอย่างดี       
ประเมินเพื่อน
         เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม ทำกันอย่างสนุกสนาน เพื่อนมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันไปในการออกแบบและประดิษฐ์สื่อต่างๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        อาจารย์เตรียมการสนมาเป็นอย่างดีค่ะ อธิบายการทำกิจกรรมอย่างละเอียด รอบคอบ และคอยให้คำแนะนำบ้างบางครั้งแต่บางครั้งจะไม่แนะนำเพราะอยากให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเองด้วย